จัดการทีมได้ดี ด้วยคำว่า “Teamwork”
--
“Alone we can do so little , together we can do so much.- Helen Keller”
การแก้ไขปัญหาบางประเภท เราไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่นๆที่เก่งในเรื่องที่แตกต่างกัน และนั้นเป็นที่มาของคำว่า “ ทีม ”
การค้นพบ Pattern ของการสร้างทีม 🔎
โดยเริ่มต้นจากมีนักจิตวิทยาคนหนึ่งชื่อ “Bruce Tuckman” ได้สังเกตุเห็นว่า Teamwork มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ตั้งแต่ เริ่มต้นตั้งทีม จนถึง ทีมที่ประสบความสำเร็จ ดังนี้
- Forming — สร้างจุดยืนทีม
- Storming —พบความแตกต่าง
- Norming — รู้จักปรับตัว
- Performing — Dream Team ของเรา
- Adjourning — การจากลา
Forming — การสร้างจุดยืน 🥚
เป็นขั้นตอนที่ทุกคนพึ่งเริ่มที่จะเจอกัน ทุกคนมีพลังและอยากมีส่วนร่วมในการทำงาน บางคนอาจจะงงบ้างว่าเราโดนเรียนมาเพื่อที่จะทำอะไร ขั้นตอนนี้ทางทีมควรจะมีผู้นำ เพื่อที่จะได้กำหนดเป้าหมายของทีม ที่ชัดเจน รวมถึงเข้าใจเป้าหมายของเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้ทางทีมรู้จักและเข้าใจกันมากขึ้น ช่วงเวลานี้กิจกรรมหลักๆของทีมจะเป็นการสื่อสารซึ่งกันและกัน
Storming — พบความแตกต่าง 🌩️
เมื่อเราเพิ่มรู้จักกันและกัน หลังจากที่มีเริ่มทำงาน จะมีการทำงานร่วมกันมากขึ้น ร่วมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งในขั้นตอนนี้ อาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หัวหน้าทีมควรจัดการด้วยเห็นผล และเข้าใจจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละคนให้มากขึ้น
Norming — รู้จักปรับตัว 💕
ทุกคนเริ่มที่จะเข้าใจ จุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละคน ทีมเริ่มที่จะเข้าที่จุดสำคัญคือพยายามให้ทุกคนยังมีพลังและไฟในการทำงาน และพยายามให้ feedback กันและกันเพื่อให้พัฒนาทีมได้อย่างดี หัวหน้าจะสามารถช่วยให้ทีมดีขึ้นได้ใน stage นี้โดยการ encorage ให้เริ่มมีการตัดสินใจเอง รวมถึงให้คำแนะนำ
Performing — Dream Team ของเรา 🎯
ทีมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทุกคนเข้าใจในหน้าที่ของตัวเองและทำงานกันอย่างเป็นทีม หัวหน้าจะเป็นแค่คนที่คอยสอบถามว่า มีอะไรให้ช่วยเพิ่มเติมไหม เพราะทีมสามารถที่จะจัดสินใจได้เอง จุดนี้เป็นโอกาสที่ดี ที่ทุกคนจะมีการ shared ข้อมูลต่างๆร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
Adjourning — การจากลา 👋
เป็น stage สุดท้ายที่ถูกเพิ่มขึ้นมา เป็นอีก stage นึงที่สำคัญ จะเกิดขึ้นเมื่อ Project จบ เมื่อ project จบ เราควรมีการฉลอง รวมถึง การจารึกว่าใครเป็นคนทำอะไรเพื่อ ให้ทีมรู้สึกดี รวมถึงการให้ feedback กับทีม เพื่อให้แต่ละคนได้มี feedback เพื่อนำไปพัฒนาตัวเอง
ทำไมถึงต้องรู้ stage ของ teamwork ? 🔑
การที่เรารู้ Stage ของ Teamwork ทำให้เราสามารถรู้ว่าตอนนี้ทีมอยู่ใน stage ไหนและจะพัฒนาทีมไปใน stage ต่างๆได้อย่างเร็วขึ้นเพื่อไปให้ถึง Performing Stage นอกจากเรื่องของ teamwork แล้วบทบาทที่สำคัญอีกอย่างก็คือเรื่องของ leadership skill เพื่อที่จะ manage team ได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
บทความนี้เป็นบทความแรกของผม หากดีไม่ดียังไงสามารถให้ feedback ผมได้เลยนะครับ